วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 02, 2553

มีบุคคลอื่นส่งข้อความจากที่อยู่ของฉัน

ถ้าคุณได้รับข้อความตีกลับสำหรับจดหมายที่แสดงว่ามาจากบัญชีของคุณ คุณพบข้อความในจดหมายขยะจาก 'ฉัน' หรือคุณได้รับการตอบกลับข้อความที่คุณไม่เคยส่ง แสดงว่าคุณอาจเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบ 'การแอบอ้าง' การแอบอ้างหมายถึงการปลอมแปลงที่อยู่ที่ตอบกลับของจดหมายขาออก เพื่อซ่อนที่มาที่แท้จริงของข้อความ


เมื่อคุณส่งจดหมายทางไปรษณีย์ ตามปกติคุณจะเขียนที่อยู่ที่ส่งกลับไว้บนซองจดหมาย เพื่อให้ผู้รับสามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ส่ง และเพื่อให้ที่ทำการไปรษณีย์สามารถส่งคืนจดหมายแก่ผู้ส่งได้ ถ้ามีปัญหา แต่คุณก็สามารถเขียนที่อยู่ที่ส่งกลับอื่นที่ไม่ใช่ของคุณได้ ยิ่งกว่านั้น บุคคลอื่นสามารถระบุที่อยู่ที่ส่งกลับของคุณไว้บนซองจดหมายได้เช่นกัน อีเมลก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อความอีเมล จะระบุผู้ส่ง แต่ช่องผู้ส่งนี้สามารถปลอมแปลงได้ ถ้าเกิดปัญหาในการส่งข้อความ และมีบุคคลอื่นปลอมแปลงที่อยู่ของคุณไว้บนข้อความ ข้อความนั้นก็จะถูกส่งกลับถึงคุณ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นผู้ส่งที่แท้จริงก็ตาม



ถ้าคุณได้รับการตอบกลับข้อความที่ไม่ได้ส่งจากที่อยู่ของคุณ มีกรณีที่เป็นไปได้สองกรณี:

1. ข้อความถูกแอบอ้าง โดยใช้ที่อยู่ของคุณเป็นผู้ส่ง

2. ผู้ส่งที่แท้จริงใช้ที่อยู่ของคุณเป็นที่อยู่ตอบกลับ เพื่อให้การตอบกลับข้อความถูกส่งถึงคุณ

ทั้งสองกรณีแสดงให้ทราบว่าบัญชีของคุณถูกโจมตี แต่ถ้าคุณมีข้อกังวลว่าบัญชีของคุณอาจถูกบุกรุก คุณสามารถตรวจสอบการเข้าถึงล่าสุดในบัญชีของคุณ เพียงเลื่อนไปที่ด้านล่างสุดของกล่องจดหมาย และคลิกที่ลิงก์ รายละเอียด ใกล้กับบรรทัด กิจกรรมในบัญชีครั้งสุดท้าย ที่ด้านล่างของหน้าเว็บ Gmail หน้าใดก็ได้ จะเป็นการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมล่าสุดในจดหมายของคุณ

กิจกรรมล่าสุดรวมถึงเวลาใดก็ตามที่มีการเข้าถึงจดหมายของคุณ โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป ผ่านโปรแกรมรับส่งเมลแบบ POP จากอุปกรณ์มือถือ ฯลฯ เราจะแสดงที่อยู่ IP ที่ใช้ในการเข้าถึง ตลอดจนเวลาและวันที่เข้าถึง

วิธีใช้ข้อมูลนี้

ถ้าคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงจดหมายของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณจะสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อค้นหาคำตอบว่ามีบุคคลอื่นเข้าถึงจดหมายของคุณหรือไม่ และเมื่อใด ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เราจะใช้เพื่อแก้ไขปัญหากิจกรรมของบัญชีที่ไม่ได้รับอนุญาต และในปัจจุบันคุณสามารถใช้ข้อมูลนี้ได้ คอลัมน์ ประเภทการเข้าถึง แสดงการเข้าถึงที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้าคุณไม่ใช้ POP เพื่อเรียกจดหมายของคุณ แต่ตาราง กิจกรรมล่าสุด แสดงการเข้าถึง POP อาจเป็นสัญญาณบอกว่าบัญชีของคุณถูกบุกรุก

นอกจากนี้ คอลัมน์ ที่อยู่ IP ก็มีประโยชน์เช่นกัน ถ้าคุณลงชื่อเข้าใช้ Gmail โดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเสมอ หรือเป็นส่วนใหญ่ ที่อยู่ IP ของคุณควรเหมือนเดิม หรือเริ่มต้นด้วยชุดตัวเลขสองกลุ่มแรกที่เหมือนเดิม (ตัวอย่างเช่น 172.16.xx.xx) ถ้าคุณเห็นที่อยู่ IP ที่แตกต่างจากที่อยู่ IP ตามปกติของคุณมาก อาจหมายความว่าคุณได้เข้าถึงจดหมายของคุณจากสถานที่อื่น หรือมีบุคคลอื่นเข้าถึงจดหมายของคุณ ที่อยู่ IP ปัจจุบันของคุณจะถูกแสดงไว้ใต้ตาราง กิจกรรมล่าสุด

โปรดทราบ: ถ้าคุณเปิดใช้งาน POP3 หรือ IMAP ไว้ คุณจะพบข้อมูลนี้ในตารางกิจกรรมล่าสุดของคุณ ถ้าคุณเรียกข้อคามไปยังบัญชี Gmail อื่น ระบบจะแสดง IP ของ Google เนื่องจากมีการเรียกข้อความผ่านเซิร์ฟเวอร์ของเรา

 
**ที่มา : google help

-------  เพิ่มเติม   หากใช้ของ hotmail  ก็สามรถตรวจสอบ และป้องกันได้

ด้วยวิธีดังนี้

1. ต้องสังเกตุอีเมล์ของตัวเองให้ดีว่ามีการใช้เกิดขึ้นไหม  (หมายถึง เกิดมีการใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่  เพราะเราก็จะรู้ว่าในช่วงเวลานั้นเราได้ใช้ หรือเปล่า)  โดยให้เข้าไปดูที่รายการ ส่งจดหมาย  เพื่อตรวจสอบดูว่ามีรายการส่งเพิ่มเติมจากที่เราใช้งานหรือไม่  หากไม่มีก็ค่อยโล่งใจไป... 

2. เมล์คุณอาจถูกแอบอ้าง  เช่น มีคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวคุณ เอาเมลล์คุณไปโพสต์ตามที่ต่างๆ  ถ้ามันไม่เกิดปัญหาตามมาก็ดีใจด้วย  แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่เกิดปัญหาขึ้นจากการโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปที่ส่อไปในทางที่ก่อให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ทั้งที่ตัวคุณไม่ได้ทำอะไรเลย  แต่ก็ยังดีครับเพราะเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้มันเป็นอดีตไปแล้ว  ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจสอบ IP Address ของผู้ใช้ได้  ก็ถือว่าป้องกันไปได้ระดับหนึ่งครับ...

3.   มีเมล์แปลกๆ เข้ามา  โดยที่เราไม่สามารถดูรายละเอียดของผู้ส่งได้  แสดงว่าผู้ที่ส่งเมล์มาให้เราต้องมีอะไรแอบแฝงแน่นอน  อันนี้อันตรายครับ อย่าไปคลิกลิงก์ที่ข้อความ หรือให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ  กันเอาไว้ก่อน  เหตุผลเพราะเราไม่สามารถระบุรายละเอียดของผู้ส่งได้  คลิกที่แนบมาอาจจะเป็นไวรัส หรือสแปมตัวน้อย  ที่จ้องจะเล่นงานคอมพิวเตอร์ของคุณ    หากเจออีเมล์ลักษณะนี้แนะนำใหลบทิ้งไปเลย  และทำการตั้งค่ากรองข้อมูลอีเมล์ นั้นไว้เลย  ครับเพื่อเป็นการป้องกัน  หากเขาส่งเมล์ลักษณะนั้นมาอีก ระบบก็จะจัดการให้อัตโนมัติ

4.  อีเมล์รับสมัครงานพาร์ททาม  ก็เป็นอีเมล์ที่กวนใจเราไม่น้อยครับ  เมื่อเราคลิกเข้าไปที่สมัคร  ก็จะลิงก์ไปหน้าเว็บให้กรอกข้อมูลส่วนตัว  แล้วจะแน่ใจได้ไงครับว่าเขาจะเก็บข้อมูลของเราได้ดีที่สุด  ผมเคยกรอกไปแล้วครับ โอ้โห... โทรศัพท์วันหนึ่งหลายรอบมากครับ  เกี่ยวกับสมัครงานพาร์ททาม  (ขอเพิ่มเติมนะครับแม้มันคนละเรื่อง แต่มันแค้นครับ   แบบว่าโดนหลอก...  คือมีเมล์รับสมัครงาน part-time รับพนักงานคีย์ข้อมูล   ตอนแรกผมก็ว้าว... ไม่ต้องทำไรแค่คีย์ข้อมูล 1-2 ชม./วัน  ก็ได้ตั้ง 500 บาท แล้วสบายเว้ย   คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัวเลยครับ   ก็จะมีคนโทรมาหาเราแล้วนัดเราไปอบรมก่อน  เขาบอกว่าคือทางเราได้จองเก้าอี้สำหรับการเข้าอบรมสัมมนาแล้วนะครับ เวลา ---- ก็ว่าไป  แล้วก็จะมีคนโทรมาอีก  เค้าจะเซ้าซี้เราและบอกว่าหากเราไม่ไปจะเสียโอกาสนะ    ผมก็ไปเลยครับ ผลปรากฎว่ามันเป็นธุรกิจขายตรงรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการเชิญชวนให้มาสมัครสมาชิกทางอีเมล์  หากเราไปฟังละก็เค้าจะว่านล้อมเราเพื่อที่จะให้เราคล้อยตามและยอมสมัครสมาชิก ค่าสมัครไม่แพงหรอกครับ  มันแพงตรงที่เราจะต้องซื้อสินค้าด้วยนะสิ  สินค้าราคา 1000 อัพ ครับ   แต่ผมไม่มีตังค์ติดไปก็เลยเสียแค่ตังค์สมัคร 150 บาท  แล้วได้กาแฟมากล่องหนึ่ง  แต่เกือบเสียเงินพันเหมือนกันเพราะเค้าจะหว่านล้อมเราทุกด้านครับ....
หากมัครทำแล้วเราก็ต้องมาส่งอีเมล์แบบที่เค้าส่งมาให้เรานั่นแหละ    อยากเล่าให้ฟังครับ แต่ก็มีคนที่ทำได้แต่น้อยครับ  หากสนใจก็ลองเองนะครับจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง )   ทางที่ดีนะครับอย่าพึ่งให้ข้อมูลส่วนตัวของเราเลยครับ  เพราะผู้ที่ส่งเมล์มาให้เราเขายังมีรายละเอียดให้เราไม่เพียงพอเช่นกัน...  หากเราให้ข้อมูลไปแล้วเขาเอาข้อมูลของเราไปทำอย่างอื่นล่ะ   จงตรวจสอบให้แน่ใจก่อนตัดสินใจให้ข้อมูลส่วนตัว        เมื่อเราแน่ใจแล้วว่าเราไม่ต้องการอย่างนี้อีกก็สามารถสร้างตัวกรองเพื่อไม่ให้รับข้อมูลจากเมล์นั้นก็สามารถทำได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่มความคิดเห็นของคุณได้ที่นี่ Comment here