วันอังคาร, มิถุนายน 29, 2553

จับตากูเกิล อี-บุ๊ค

จากการที่ทางกูเกิลได้ทำการเปิดตัวเป็นคู่แข่ง (เฮ้ยไม่ใช่)  เปิดตัวธุรกิจใหม่กับตลาด e – book   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา  และนับจากนี้กูเกิลก็จะต้องมาทำสงครามทางธุรกิจกับ เจ้าพ่อแห่งตลาด อี บุ๊ก  อย่างอะเมซอน   ที่ครอบครองตำแหน่งผู้นำมาช้านาน  

เรามาดูกลยุทธ์การรุกฆาตของกูเกิล
ประการแรก   ทางกูเกิลได้ทำการร่วมมือกันพันธมิตร นั่นก็คือ HTC เจ้าเดิม     บริษัท เอชทีซี ของไต้หวันและกูเกิลได้ร่วมมือนกันพัฒนาคอมพิวเตอร์แท็บเลต    (tablet computer)  รุ่นใหม่เพื่อใช้แข่งขันกับไอแพดของแอปเปิล  และเพื่อให้เป็นร้านหนังสือดิจิตอลของตนเอง  และช่องทางในการจำหน่ายคอมพิวเตอร์แทบเลตด้วย

ประการที่สอง  กูเกิลใจกว้าง  ให้ดิจิตอลบุ๊คของตนสามารถอ่านได้โดยอุปกรณ์ยี่ห้อใดก็ได้   ซึ่งต่างจากอะเมซอนที่จำกัดบรรดาผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ที่ประสงค์จะจำหน่ายดิจิตอลบุ๊กต้งจัดรูปแบบเป็นแพกเกจพิเศษ  ใช้อ่านได้เฉพาะเครื่องคินเคิลเท่านั้น
ส่วนแอปเปิลก็ล็อกดิจิตอลบุ๊กของตนให้สามารถอ่านได้เฉพาะอุปกรณ์อ่านของแอปเปิลหรือผ่านซอฟต์แวร์ที่บริษัทมีข้อตกลงร่วมกันเท่านั้น

ประการที่สาม   โมเดลกูเกิลอิดิชั่น   (Google Edition)   ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการทำการดาวน์โหลดหนังสือออกไป  ใช้ได้เฉพาะผ้านทางเว็บเบราว์เซอร์เท่านั้น  ทำให้ต้นทุนลดลง  และกูเกิล สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่นได้ 

ประการที่สี่  กูเกิลเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบสิ่งพิมพ์กำหนดราคาดิจิตอลบุ๊กเอง

ปัจจุบันกูเกิลได้เริ่มธุรกิจดิจิตอลบุ๊กแล้วอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือกลุ่มที่เป็นบริการสาธารณะโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม  โดยผ่างช่องทาง กูเกิบุ๊กเซอร์วิส นำร่องก่อนทีจะเข้าสู่การให้บริการตามมารตฐาน Eub standard


มาคอยจับตาดูกันครับว่า จะแซงเจ้าพ่ออีบุ๊ก (อะเมซอน)  ได้หรือเปล่า
ที่มา นสพ.ผู้จัดการ 360   ฉบับที่ 80    7-13 มิ.ย. 53
ที่มาของภาพ - wms1.arip.co.th

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพิ่มความคิดเห็นของคุณได้ที่นี่ Comment here