ภาวะโลกร้อน (global warming) ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ แต่ความจริงปัญหาโลกร้อนเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว 200 ปีมาแล้ว นับแต่ที่มนุษย์รู้จักเครื่องจักรไอน้ำและนำเอาฟอสซิลจากใต้โลกมาใช้ ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาก
ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นภายใต้กลไกตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)
โดยปกติชั้นบรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าชชนิดต่างๆ และไอน้ำ เมื่อแสงสว่างจากดวงอาทิย์ส่องมายังโลกก็จะถูกชั้นบรรยากาศและพื้นผิว โลกดูดกลืนพลังงานไว้แล้วคายพลังงานออกมาในรูปคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด
รังสีอินฟาเรดนี้หากแผ่ออกไปนอกโลกจนหมด อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกก็จะเย็นจัดอยู่ที่ประมาณ -18 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
แต่เพราะบรรยากาศมีก๊าซบางชนิด เรียกว่า ก๊าซเรื่อนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ และรวมถึงไอน้ำในอากาศ ช่วยกักรังสีอินฟราเรดไว้ อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจึงอยู่ที่ประมาณ 13-14 องศาเซลเซียส ช่วยให้อุณหภูมิของโลกเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตมาตลอดเวลาอันยาวนาน
แต่ปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกไม่อยู่ในภาวะปรกติอีกต่อไป
ทุกวันนี้ชั้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นมากเกินไป ส่งผลให้พื้นผิวโลกร้อนขึนเรื่อยๆ เปรียบเทียบกับเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส และสร้างสถิติปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงสุดอย่างต่อเนื่องในระยะ 12 ปีหลังนี้
โลกร้อนก็แค่อากาศร้อน จริงหรือไม่?
โลกร้อนไม่ได้ทำให้แค่อากาศร้อน มีการคาดเดาว่าแต่ละองศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อภูมิอากาศและธรรมชาติของโลก
+1 องศาเซลเซียส โลกจะพบภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และพายุสร้างคามเสียหายบ่อยขึ้น
+2 องศาเซลเซียส ภายใน 20 ปีข้างหน้า สิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 30 จะล่อแหลมต่อการสูญพันธ์ ผลผลิตข้าวและธัญพืชลดลง
+3 องศาเซลเซียส ภายใน 30 ปีข้างหน้า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยละลายหมด ผลผลิตอาหารทั่วโลกลดลงต่อเนื่อง ปะการังตายทั่วโลก
+4 องศาเซลเซียส ภายใน 40 ปีข้างหน้า สิ่งมีชีวิตทั่วโลกจะสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ น้ำแข็งขั้วโลกละลายหมด เมือใหญ่ที่ติดชายฝั่งรวมทั้งกรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำ
หากมนุษย์เราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อลดการสร้างภาวะโลกร้อน มนุษย์หลายพันล้านคนรวมถึงตัวของคุณเอง จะประสบภาวะวิกฤตอย่างถึงที่สุด
แล้วเราจะหยุดโลกร้อนได้อย่างไร ?
การรณรงค์ให้ช่วยกันปิดไฟ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ขี่จักรยานแทนรถยนต์ และปลูกต้นไม้ เป็นเรื่องที่ดีในการช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน โดยมีผลทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็หยุดโลกร้อนไม่ได้แล้ว ทุกวันนี้ก๊าซเรือนกระจกที่อยู่บนชั้นบรรรยากาศมีความเข้มข้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในช่วงเวลา 650,000 ปี ถึงจะหยุดโรงงานไฟฟ้าทุกแห่ง จอดทิ้งรถยนต์ทั่วโลก หยุดโรงงานทุกที่ โลกก็ยังร้อนต่อไป จนกว่าก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศจะค่อย ๆ สะลายตัวไปซึ่งต้องใช้เวลาหลายร้อยปี บางชนิดอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นพันเป็นหมื่นปีกว่าจะสลายตัว
แต่ถ้าทุกประเทศทั่วโลกไม่ลงมือทำอะไรอย่างจริงจัง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น จะรุนแรงมหาศาลเกินความคาดการณ์
มนุษย์รุ่นเรามีทางเลือกสองทาง คือการบรรเทาภาวะโลกร้อนให้มีผลกระทบต่อโลกและมนุษย์ในอนาคตน้อยที่สุด หรือปล่ยให้โลกร้อนสุดขีด และให้มนุษย์รุ่นต่อไปเผชิญชะตากรรมที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
10 เรื่องง่าย ๆ ทำได้ที่บ้านเรา
1 ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่ยเปลี่ยนหลอดใส้เป็นหลอดตะเกียบ ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ผอมใหม่ T5
2 ใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ ถ้าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก็เปิดที่ 25 องศาเซลเซียส ตั้งเวลาเปิดเครื่องให้ทำงานเท่าที่จำเป็น
3 ปิดไฟในห้องที่ไม่มีคนอยู่ ถอดปลั๊กทีวี วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ เมื่อเลิกใช้งาน
4 อย่าใส่ของร้อนเข้าตู้เย็น อย่าใส่ของจนเต็มตู้ อย่าเปิดประตูตู้เย็นบ่อยๆ หมั่นละลายน้ำแข็งในช่องแช่เข็ง
5 ใช้ไม้กวาดกวาดบ้าน ซักผ้าด้วยมือ ได้ออกกำลังกายแถนยังประหยัดไฟกว่าใช้เครื่องดูดฝุ่น
6 ถ้ามีของใช้ในบ้านเสีย หาทางซ่อมให้กลับมาใช้ได้ใหม่ หรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในทางอื่น อย่าเพิ่งรีบทิ้ง
7 แยกขยะที่บ้านเป็นสองประเภทคือ ขยะเปียก(เศษอาหาร) ไว้ทำปุยหมัก กับขยะของรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว ฯลฯ ไว้ขายซาเล้ง
8 เก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วไปขายที่ปั๊มน้ำมันบางจาก เพื่อให้เขานำไปทำไบโอดีเซล
9 ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้โถชักโครกแบบประหยัดน้ำ อย่าปล่อยให้มีน้ำรั่ว รีบซ่อมแซมให้เรียบร้อย
10 ปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน มีพื้นที่น้อยก็ปลูกกระถาง มีพื้นที่มากก็ปลูกไม้ยืนต้น
10 วิธีการจักการช่วยกันในที่ทำงาน
1 จัดการให้มีการใช้กระดาษเอกสารทั้งสองหน้า พยายามรักษากระดาษไม่ให้ยับ กระดาษที่ใช้ทั้งสองหน้าแล้วรวบรวมใว้ขายให้ซาเล้ง
2 เปิดแอร์ตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ถ้าไม่ร้อนมากเปิดที่ 26-28 องศาเซลเซียสก็ได้ ดูแลให้ห้องที่เปิดแอร์ปิดสนิท ไม่มีช่องที่อากาศรั่วไหลได้ จัดให้มีการล้างแอร์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3 กำหนดเวลาปิดไฟและปิดแอร์เวลาเที่ยงวันถึงบ่ายโมง เลิกงานแล้วปิดไฟปิดแอร์ทุกห้อง ถอดปลั๊กหรือปิดไฟที่รางปลั๊ก อย่าให้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบปลั๊กคาเต้า
4 ตั้งคอมพิวเอตร์ให้เข้า sleep mode เมื่อพักงานสั้นๆ อย่าใช้ screen saver ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งานนานๆ
5 ใช้จอ LCD ประหยัดกว่าจอ CRT และมีความร้อนน้อยกว่า ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานเบาลง
6 ลดการใช้กระดาษหรือแผ่นซีดี หากมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่ายแทน
7 อุปกรณ์สำนักงานบางอย่าง เช่น คลิบหนีบกระดาษ ซองจดหมาย ซองเอกสาร ฯลฯ อย่าใช้ครั้งเดียว หาทางนำกลับมาใช้ใหม่
8 เปลี่ยนหลอดไฟสำนักงานเป็นหลอดประหยัดพลังงานท้งหมด
9 อาคารสูงควรสนับสนุนให้พนักงานเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ส่งตั้งแต่ชั้น 4 ขึ้นไป หรือจัดให้จอดเฉพาะเลขคู่หรือเลขคี่
10 อาคารสำนักงานใหญ่ๆ ควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในตึกสำนักงาน
10 วิธีเดินทางประหยัดพลังงาน
1 คิดเสมอง่าการเดินเป็นวิธีเดินทางประหยัดพลังงานมากที่สุด และเป็นการออกกำลังกายด้วย
2 ขี่จักรยานไปตลาด หรือติดต่อธุระในสถานที่ใกล้บ้าน หรือถ้าเป็นไปได้ก็ขี่ไปทำงานเลย
3 ใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถตู้ รถไฟลอยฟ้า รถไฟใต้ดิน ช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และยังช่วยสร้างความต้องการให้เกิดบริการสาธารณะมากขึ้นในอนาคต
4 จะไปไหนนอกเส้นทางปรกติ พยายามใช้รถแท็กซี่แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะรถแท็กซี่วิ่งตลอดเวลาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่เราต้องเอารถยนต์ออกมาวิ่งอีกคัน
5 ถ้าต้องขับรถส่วนตัว ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. จะประหยัดน้ำมัน พยายามรักษาความเร็ว อย่าเหยียบเบรคหรือเร่งเครื่องโดยไม่จำเป็น
6 หมั่นเช็คลมยางรถยนต์ให้ตรงตามขนาดที่เหมาสม เพราะลมยางอ่อนทำให้เปลืองน้ำมันมาก
7 ดับเครื่องเมื่อจอดรถเสมอ
8 สนับสนุนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล หรือแก๊สโซฮอล์ แทนการใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล
9 จัดระบบ car pool เช่น รวมกลุ่มคนซึ่งมีที่ทำงานอยู่ทางเดียวกันให้นั่งรถคันเดียวกันไปทำงาน แทนการขับรถยนต์ไปกันคนละคัน
10 การเดินทางไกลๆ พยายามลดการเดินทางด้วยเครื่องบินปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเดินทางประเภทอื่น ถ้าเป็นไปได้ใช้รถไฟหรือรถประจำทางแทน
10 เรื่องต้องคิดก่อนจับจ่ายซื้อของ
1 ไม่รับถุงฟลาสติกจากร้านค้า พกถุงผ้าติดตัวไว้ใส่ของเสมอ หรือบางครั้วอาจต้องพกถุงพลาสติกส่วนตัวไว้สำหรับใส่ของที่อาจเลอะเทอะได้
2 เลือกซื้อของมือสองแทนการซื้อของใหม่ มีของมือสองมากมายที่ใช้ได้ดีและราคาถูกเสียด้วย เช่น เสื้อผ้า หนังสือ วีซีดี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
3 ซื้อของบรรจุขวดแก้วดีกว่าวัสดุแบบอื่น เช่น น้ำอัดลม น้ำปลา ซอส ฯลฯ เพราะขวดแก้วนำกลับมาใช้บรรจุซ้ำได้อีก
4 ไม่ซื้อของที่บรรจุในโฟม หรือใช้หีบห่อฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ถ้าต้องใช้โฟมหรือพลาสติกจริงๆ พยายามมองหาพลาสติหรือโฟมแบบที่ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ (biodegradable)
5 พยายามเลือกซื้อของที่สามารถใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ อย่าซื้อของที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์จไฟได้แทนถ่านธรรมดาแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
6 ซื้อเครื่องกรองน้ำมาใช้แทนการซื้อน้ำขวดหรือถังน้ำ
7 ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากปรพหยัดไฟเบอร์ 5 และค่าประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า EER ไม่น้อยกว่า 10.6 (ยิ่งสูงยิ่งดี)
8 เลือกซื้อของทีททำงานโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือถ่าน เช่น ที่โกนหนวดแบบธรรมดา นาฬิกาไขลาน หรือเครื่องใช้ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครื่องคิดเลข เครื่องทำน้ำร้อน
9 สนับสนุนสินค้าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ หรือของใช้อื่นๆ เพราะสินค้าจากต่างประเทศสิ้นเปลืองพลังงานขนส่งมากกว่า
10 คิดทบทวนก่อนจ่ายเงินซื้อสินค้าทุกครั้งว่า เราจำเป็นต้องใช้ของนั้นจริงหรือไม่ เราใช้อของที่มีอยู่อย่างคุ้นค่าหรือแล้วหรือยัง
10 พลังร่วมใจสร้างสังคมสีเขียว
1 เข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่ต่างๆ เช่นปลูกป่าชายเลน ปลูกแล้วอย่าละเลยพยายามติดตามให้ต้นไม้ เจริญงอกงาม
2 เข้าร่มหรือจัดกิจกรรมรณรงค์การขี่จักรยานในเมือง สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์
3 เข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมรณรงค์การประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน เช่น รณรงค์วันปิดทีวี ปิดไฟ วันงดใช้รถยนต์
4 บริจาคของที่เราไม่จำเป็นต้องใช้แล้วให้ผู้ที่ต้องการและขาดแคลน เช่นหนังสือ เสื้อผ้า คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
5 สนับสนุนกิจการที่เกี่ยวกับการรีไซเคิล เช่น ขายขยะที่แยกแล้วให้ซาเล้ง ซื้อของที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล สนับสนุนโรงเรียนหรือที่ทำงานให้แยกขยะ ฯลฯ
6 ติดตามข่าว หาความรู้ แลกเปลี่ยนข่าวสาร พูดคุยกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับการลดภาวะโลกร้อน (ระดมสมองหาวิธีแก้ไขปัญหา) และปัญหาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก เพื่อให้สังคมตื่นตัวอยู่เสมอ อย่าให้เรื่องโลกร้อนเป็นเพียงแค่กะแสข่าว
7 คัดค้านโครงการของรัฐบาลหรือบุคคลที่ทำลายป่าไม้ที่เหลืออยู่ในเมืองไทย [*** ความคิดเห็นส่วนตัว*** เช่น โครงการสร้างเขื่อน เป็นโครงการที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก แต่มีประโยชน์เพื่อกักเก็บน้ำ และน้ำที่กักเก็บนั้นก็เกิดจากผลที่ป่าไม้ลดลงทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม ภาวะความขาดแคลนน้ำ(แห้งแล้ง) และภาวะโลกร้อน เมื่อมีโครงการสร้างเขื่อน ก็น่าที่จะมีโครงการปลูกต้นไม้รวมถึงดูแลรักษาจนเจริญเติบโตควบคู่กันไปด้วย คือถ้าโครงการสร้างเขื่อนกินพื้นที่มากแค่ไหน ก็ควรมีโครงการปลูกต้นไม้มากกว่าพื้นที่สร้างเขื่อนเป็น 2 เท่า เพื่อที่จะให้การสร้างเขื่อนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด แล้วถ้าเราสร้างเขื่อนไว้เก็บน้ำอย่างเดียวละ จงลองคิดดูสิว่าแหล่งกำเนิดของน้ำมาจากไหน??? ถ้าไม่ใช่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าจะบอกว่ามาจากฝนเทียม ผมก็ขอถามกลับไปว่าแล้วคุณทราบไหมว่าฝนเทียมทำยังไง ฝนเทียมจะทำได้ต่อเมื่ออากาศอิ่มตัว และอากาศจะอิ่มตัวได้ก็ต่อเมื่อบรรยากาศมีความชื้น ซึ่งเกิดจากน้ำจากพื้นดินละเหยเป็นไอน้ำลอยสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วถ้าเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ แห้งแล้ง จะมีน้ำที่ไหนละเหยเป็นไอน้ำละครับ ฉะนั้นเราควรที่จะแก้ไขกันในระยะยาว ด้วยการช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ถึงแม้ว่าการปลูกต้นไม้จะใช้เวลานานที่มันจะเติบโต ถ้าเกิดคำถามในใจว่า "ตัวเราก็เป็นคนตัวเล็กๆ เดินดินคนหนึ่งจะทำการยิ่งใหญ่ได้ยังไง ก่อนอื่นเราก็ต้องเริ่มที่บ้านเราก่อน หากมีพื้นที่ว่างก็ปลูกต้นไม้สร้างร่มเงาให้แก่บ้านเรา เมื่อบ้านเรามีต้นไม้แล้วต้นไม้จะช่วยให้บ้านเราร่มรื่นเย็นสบาย ไม่ต้องเปลืองไฟไปกับการเปิดแอร์ เปิดพัดลม ทำให้ค่าไฟฟ้าของคุณลดลงมากเลยละครับ จนเพื่อนบ้านอิจฉาและอยากทำตาม แล้วเมื่อเราคิดการใหญ่อยากปลูกป่าละก็ควรเข้าร่วมโครงการปลูกป่าที่ไหนก็ได้หรือจะจัดตั้งเอง(หากตั้งเองในการปลูกป่าจะต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง หรือบางที่ก็ไม่ต้องดำเนินการอันนี้ก็แล้วแต่สถานที่ครับ ) อาจจะดูเหมือนอะไรๆ ก็ยุ่งอยากไปหมดเลย จงคิดไว้เสมอว่าเราทำมันเพื่อตัวเรา เพื่อลูกหลานของเรา และเพื่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะทำให้เราสบายใจขึ้นเยอะเลยครับ อันนี้ก็เป็นการแนะนำเล็กๆ น้อยๆนะครับ ]
8 สนับสนุนผลักดันให้เกิดนโยบายของรัฐ ในการรณรงค์ด้านการประหยัดพลังงาน
9 สนับสนุนหรือผลักดันให้เกิดนโยบายของรัฐในการสร้างพลังงานทางเลือกที่สะอาด เช่น ฟาร์มลม พลังงานแสงอาทิตย์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือเซลล์เชื้อเพลิง
10 ลงมือทำทุกอย่างเพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนด้วยตัวคุณเอง อย่ามัวรอการสนับสนุนของรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เพิ่มความคิดเห็นของคุณได้ที่นี่ Comment here